หน้าที่ของคณะรัฐมนตรีาร พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ

หน้าที่ของคณะรัฐมนตรี           ๓.๑  ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อกําหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาต (ม.12 วรรคแรกและวรรคสอง)           ๓.๒  พิจารณายกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต (ม.6 วรรคสอง)           ๓.๓  จัดตั้งศูนย์รับคําขออนุญาต (ม. 14)

หน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ

หน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ           ๒.๑  ตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตว่าเหมาะสมหรือไม่ หากเห็นว่าไม่เหมาะสมให้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาสั่งการหากเห็นว่าควรดําเนินการแก้ไข (ม. 7 วรรคสาม) ๒.๒  รายงานต่อคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งเสนอแนะการพัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการ ในกรณีที่ผู้ อนุญาตดําเนินการพิจารณาอนุญาตล่าช้ากว่าที่กําหนดในคู่มือสําหรับประชาชนเกินสมควร หรือล่าช้าเพราะขาดประสิทธิภาพ (ม. 10วรรคสาม) ๒.๓  หารือเรื่องการชําระค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตแทนการยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออก ใบอนุญาต เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี (ม.12 วรรคสี่)

หน้าที่ของผู้อนุญาต และการพิจารณาอนุญาต พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ

 หน้าที่ของผู้อนุญาต และการพิจารณาอนุญาต         1.๑  จัดทําคู่มือสําหรับประชาชน (ม. 7) ให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๘๐ วันนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.บ. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ม. ๑๗) โดยอย่างน้อยต้องมี –  หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข (ถ้ามี) ในการขออนุญาต –  ขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตและ –  รายการเอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการขออนุญาต 1.๒  พิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่ให้อํานาจในการอนุญาตทุก 5ปี เพื่อพิจารณาว่าสมควรยกเลิกการอนุญาตหรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาตหรือไม่ และเสนอผลการพิจารณานั้นต่อคณะรัฐมนตรี (ม. 6) 1.๓  หน้าที่ในขั้นตอนการขออนุญาต (๑)  ตรวจสอบคําขอและรายการเอกสารหรือหลักฐาน หากไม่ถูกต้องครบถ้วนต้องแจ้งผู้ขออนุญาตทันที (ม.8 วรรคแรก) (๒) เมื่อผู้ขออนุญาตยื่นคําขอและรายการเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องรับคำขอนั้น (ม.๘ วรรคท้าย) (๓)  ต้องดําเนินการอนุญาตตามกําหนดเวลาที่  ระบุไว้ในคู่มือสําหรับประชาชน และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วันนับแต่พิจารณาแล้วเสร็จ หากครบตามกําหนดเวลายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาต และคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการทราบทุก 7 วัน (ม. 10)

สรุปเนื้อหา สาระสำคัญและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรมของ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘

นิยามศัพท์ที่สำคัญ           – “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง – “อนุญาต” หมายความว่า การที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุคคลใดกระทำการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมก่อน กระทำการนั้น และให้หมายความรวมถึงการออกใบอนุญาต การอนุมัติ การจดทะเบียน การขึ้นทะเบียน การรับแจ้ง การให้ประทาน บัตรและการให้อาชญาบัตรด้วย – “ผู้อนุญาต” หมายความว่า ผู้ซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจในการอนุญาต – “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต – “กฎหมายว่าด้วยการอนุญาต” หมายความว่า บรรดากฎหมายที่มีบทบัญญัติกำหนดให้ การดำเนินการ ใดหรือการประกอบกิจการใดจะต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้ – “คำขอ” หมายความว่า คำขออนุญาต กฎหมายดังกล่าวมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาทั้งสิ้น ๕ ประเด็นได้แก่ ๑. หน้าที่ของผู้อนุญาต และการพิจารณาอนุญาต ๒. หน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ๓. หน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ๔. ศูนย์รับคําขออนุญาต ๕. กรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.

8 ประเด็นสำคัญจาก พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562  ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2563  กฎหมายนี้จะช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเราให้ปลอดภัยมากขึ้นได้อย่างไร มาทำความเข้าใจกันครับ    นับถอยหลังไปอีกไม่กี่เดือนเท่านั้นที่ก็จะถึงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 จะมีผลบังคับใช้ กฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับเราทุกคนในฐานะที่เป็นเจ้าของข้อมูล รวมถึงผู้ประกอบการ หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงกับการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้งาน เพื่อให้เข้าใจกันง่ายขึ้นทีมงานจึงได้สรุปประเด็นสำคัญ (เบื้องต้น) มาให้ 8 ประเด็นดังนี้ 1.กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดาเท่านั้น ข้อมูลบุคคล เป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซี่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงหมายถึงข้อมูลชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน อีเมล์ ลายนิ้วมือ IP address Cookie  ฯลฯ ของบุคคลทั่วไป และไม่คุ้มครองถึงข้อมูลของนิติบุคคล 2.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องยินยอมก่อน การที่เก็บข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ  เพื่อนำไปรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลต่อไปนั้น ต้องเก็บจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง และได้รับการยินยอมโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านระบบออนไลน์ตามรูปแบบที่กำหนด ดังนั้นก่อนที่จะยินยอมเจ้าของมูลต้องอ่านรายละเอียดให้ดีก่อน รวมถึงเก็บข้อมูลว่าได้ยินยอมให้เก็บ ใช้ […]

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกาศใช้พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล

ผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกับเจ้าของข้อมูลและผู้เก็บข้อมูล โดยเจ้าของข้อมูลอาจต้องบันทึกหลักฐานการให้ข้อมูลไว้ เพราะหากเจ้าของข้อมูลเจอว่ามีการนำข้อมูลไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ก็จะสามารถร้องเรียนและแนบหลักฐานประกอบได้ นอกจากนั้น การให้ข้อมูลแต่ละครั้งก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนให้ข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจำเป็นต้องให้หรือไม่ หากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องอนุญาตให้ผู้เก็บข้อมูลนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ฟรีๆ ซึ่งก็ถือเป็นการป้องกันให้ข้อมูลของเราไม่รั่วไหลในอีกทางนึง ในส่วนของผู้เก็บข้อมูล ก็ต้องรู้ขอบเขตในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีระบบในการควบคุมการเข้าถึง มีระบบยืนยันตัวตนในการเข้าถึงข้อมูล และจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายองค์กรเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม เพราะหากไม่ทำตามก็จะมีโทษทางอาญาและทางปกครอง