กระบวนงานตามกฎหมายที่จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนของกรมส่งเสริมสหกรณ์ มี 25 กระบวนงาน

กระบวนงานตามกฎหมายที่จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนของกรมส่งเสริมสหกรณ์ มี 25 กระบวนงาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วิเคราะห์อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนงานการขออนุมัติ อนุญาต จดทะเบียน ได้แก่ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2552 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2557 พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 จึงได้กำหนดกระบวนงานที่เกี่ยวข้อง โดยอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน  ดังนี้ สำนักนายทะเบียนและกฎหมาย จำนวน 17 กระบวนงาน คู่มือที่ 1. การกำหนดวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกันประจำปีของสหกรณ์ คู่มือที่ 2. การขอความเห็นชอบการควบสหกรณ์ คู่มือที่ 3. การถือใช้ระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินจากสมาชิกสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่นหรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ คู่มือที่ 4. การถือใช้ระเบียบว่าด้วยการให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงิน คู่มือที่ 5. การรับจดทะเบียนสหกรณ์ คู่มือที่ 6. การเลือกตั้งผู้ชำระบัญชี […]

ความเป็นมา พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก

ความเป็นมา พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่  21 กรกฎาคม 2558 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตจำนวนมาก การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กำหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จำเป็น รวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นคำขออนุญาตดำเนินการต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้มีกฎหมายกลางที่จะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต และมีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำร้องและศูนย์รับคำขออนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขออนุญาตซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่ตรวจและอนุมัติคู่มือสำหรับประชาชนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ โดยสำนักงานรัฐบาลอิเลคทรอนิกส์ รับผิดชอบในการจัดทำระบบสารสนเทศ หน่วยงานส่วนกลางเจ้าของกระบวนงานตามกฎหมายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้แก่ สำนักนายทะเบียนและกฎหมาย และกองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ ดำเนินการกรอกคู่มือสำหรับประชาชนในระบบสารสนเทศ สำหรับเป็นคู่มือกลาง เพื่อให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 – 2 นำไปปรับใช้ในการกรอกคู่มือสำหรับประชาชนในระบบสารสนเทศ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีคำสั่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ 366/2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาปรับปรุงการให้บริการของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. […]

พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรม

พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรม โดยภารกิจของกระทรวงยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขอทราบข้อมูล ขออนุญาต  และขออนุมัตินั้น สามารถจำแนกตามส่วนราชการได้ดังนี้ ส่วนราชการ งานบริการ  1. กรมคุมประพฤติ  ๑. การขอรับการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดหลังปล่อย  2. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  ๒. การขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ ค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ๓. การขอรับความช่วยเหลือทางกฎหมายและให้คำปรึกษา ทางกฎหมาย ๔. การขอรับการสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายจากกองทุน ยุติธรรม ๕. การจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในการสอบสวน คดีอาญา ๖. การร้องขอคุ้มครองความปลอดภัยพยานในคดีอาญา ๗. การรับเรื่องราวร้องทุกข์  3. กรมบังคับคดี  ๘. การยื่นคำร้องขอวางทรัพย์ ๙. การขึ้นทะเบียนผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการและผู้บริหารแผน  4. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ๑๐. การขอปล่อยตัวชั่วคราว  5. กรมราชทัณฑ์  ๑๑. การขออนุญาตวิจัย ๑๒. การพบญาติแบบใกล้ชิด ๑๓. การขออนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าชมกิจการเรือนจำ/ทัณฑสถาน ๑๔. การขออนุญาตเผยแพร่กิจกรรมในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ๑๕. การช่วยเหลือ สนับสนุนด้านสวัสดิการและการสงเคราะห์ ผู้ต้องขัง  6. กรมสอบสวนคดีพิเศษ […]

ผลดีของ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. ๒๕๕๘

ผลดีของ พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ. ๒๕๕๘             1.  การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ            (๑.๑) ในส่วนของการลดต้นทุน ได้ปรากฏชัดแจ้งอยู่ใน มาตรา ๗ วรรคสาม ซึ่งได้ระบุไว้ว่า “ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ พัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตที่กำหนดตามวรรคหนึ่งว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะ สมตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่ ในกรณีที่เห็นว่าขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและสั่งการให้ผู้อนุญาตดำเนินการแก้ไขให้เหมาะสมโดยเร็ว”            ทั้งนี้ เพราะระบบการควบคุมการประกอบกิจการหรือการดำเนินการต่างๆ ของประชาชน ภายใต้กฎหมายปัจจุบันนั้น  ต้อง ดำเนินการผ่านการอนุมัติ การอนุญาต การออกใบอนุญาต การขึ้นทะเบียน และการแจ้ง โดยที่กฎหมายหลายฉบับมิได้กำหนดระยะ เวลาและขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน คู่มือสำหรับประชาชนตามมาตรา 7  จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะให้ข้อมูลแก่ ประชาชนเกี่ยวกับระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินการซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดเตรียมเอกสารและหลักฐานของประชาชน เนื่อง จากมาตรา 7 วรรคสาม ได้ให้อำนาจแก่ ก.พ.ร.ในการตรวจสอบขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตในคู่มือสำหรับประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ก.พ.ร.จึงควรดำเนินการประเมินต้นทุนที่ใช้ในการพิจารณาอนุญาต ต่างๆภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ในลักษณะของ Standard Cost Model โดยประเมินต้นทุนของการพิจารณาอนุญาตแต่ละแบบจากต้น ทุนที่ประชาชนต้องรับภาระ ทั้งต้นทุนที่เป็นตัวเงินและเวลา รวมถึงความถี่หรือปริมาณการขออนุญาตนั้นๆ และเปิดเผยข้อมูลต้นทุนดัง กล่าวให้ประชาชนโดยทั่วไปรับทราบ นอกจากนี้ศูนย์รับคำขออนุญาตนั้นจะช่วยลดต้นทุนจากปัญหาการขออนุญาตดำเนินการต่างๆ ของประชาชนที่ต้องติดต่อกับ […]

 กรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. (ม. ๕)

 กรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. (ม. ๕)             ๕.๑  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ๕.๒  การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ ๕.๓  การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ๕.๔  การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕.๕  การอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารด้านยุทธการ รวมทั้งตามกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยุทธภัณฑ์และ กฎหมายว่าด้วยโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน ๕.๖  หน่วยงานอื่นนอกจาก ๕.๑ – ๕.๕ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ศูนย์รับคําขออนุญาต พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ

ศูนย์รับคําขออนุญาต            ๔.๑  เป็นหน่วยงานใหม่ที่ออกแบบมาเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ประชาชนในการขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ            ๔.๒  คณะรัฐมนตรีสามารถออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดตั้งศูนย์รับคําขออนุญาต (ม. 14)            ๔.๓  มีหน้าที่รับคําขออนุญาตและค่าธรรมเนียม ให้ข้อมูล และแนะนําเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการอนุญาต เป็นต้น (ทำหน้าที่เสมือนหน่วยงานผู้อนุญาต)(ม. 16)