หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้มี 2 ส่วน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ส.ค.ส.) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงให้ความรู้และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปให้มีความเข้าใจและสามารถรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัย คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ มีหน้าที่พิจารณาเรื่องร้องเรียนเมื่อมีการละเมิด ตรวจสอบผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่าง ๆ

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ มี 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ เจ้าของข้อมูลต้องให้ความยินยอม (Consent) ในการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ผู้เก็บรวบรวม ผู้ใช้ แจ้งไว้ตั้งแต่แรกแล้วเท่านั้น กล่าวคือ ต้องขออนุมัติจากเจ้าของข้อมูลก่อน เช่น หากแอปพลิชันหนึ่งจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตของเราไว้ในระบบ ก็ต้องมีข้อความให้เรากดยืนยันเพื่อยินยอม พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม และการใช้ หากเราไม่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันนั้นก็ไม่สามารถใช้ข้อมูลบัตรเครดิตของเราได้ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลต้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือถูกเข้าถึงโดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล เช่น สถานพยาบาลจะต้องเก็บข้อมูลของผู้ป่วยให้เป็นความลับและไม่เปิดเผยให้กับผู้อื่น ธนาคารต้องเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับรายการถอน เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ถอนความยินยอม ขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลเมื่อใดก็ได้ หากเป็นความประสงค์ของเจ้าของข้อมูล

ทำไมต้องมี พ.ร.บ. พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ทำไมต้องมี พ.ร.บ. ฉบับนี้? สาเหตุหลักที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เนื่องจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้ออก GDPR ( General Data Protection Regulation) เป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บังคับใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งนอกจากมีผลบังคับใช้แก่การส่งข้อมูลภายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ผู้ประกอบการในไทยที่ต้องติดต่อ รับส่งข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Cross-Border Data Transfer Issues)  ก็ต้องมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมและเพียงพอด้วย ที่สำคัญกว่านั้นคือ ความน่าเชื่อถือในมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศ มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ และการทำธุรกิจระหว่างประเทศ หากประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ย่อมทำให้เสียโอกาสและความเชื่อมั่นจากกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป และอาจรวมไปถึงประชาคมโลกที่กำลังตื่นตัวเรื่อง Data Protection เพราะเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายล้านบัญชี เป็นต้น

สรุปใจความสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ผู้ประกอบการควรรู้

นอกจาก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “พ.ร.บ. ไซเบอร์” จะมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ยังมีอีกกฎหมายหนึ่งที่คลอดมาพร้อมกัน คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล และทำให้เกิดข้อสงสัย ตั้งคำถามว่า แต่ละองค์กรต้องความพร้อมอย่างไรให้ปฏิบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดกฎหมายเหล่านี้ แม้ว่าชื่อของ พ.ร.บ. เมื่ออ่านแล้ว ทำให้มองไปที่ “การคุ้มครอง” ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ กลับมุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality)  ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร

เข้าใจตนเองมากขึ้นด้วยการเขียนอัตชีวประวัติ

บทความนี้เล่าการบ้านอีกเรื่องหนึ่งในวิชา Innovative Thinking คือ นิสิตทุกคนต้องเขียนอัตชีวประวัติในรูปแบบแปลกใหม่ เช่น โพสต์ในเฟซบุ๊ค , ทวิตเตอร์ , ไลน์ , อินสตาแกรม เป็นต้น ผมประหลาดใจมากว่า มีผู้อ่านบทความนี้มากอย่างนึกไม่ถึง ทุกวันนี้ยังมีผู้อ่านบทความนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ