ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) คืออะไร

“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งท าให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

ข้อยกเว้นการใช้บังคับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อยกเว้นการใช้บังคับ • (1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ท าการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น • (2) การด าเนินการของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งรวมถึง ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ หรือการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้งหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร์ หรือการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ • (3) บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ท าการเก็บรวบรวมไว้เฉพาะ เพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรมอันเป็นไปตามจริยธรรม แห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น (4) สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา รวมถึงคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งโดยสภาดังกล่าว ซึ่งเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในการพิจารณาตามหน้าที่และอ านาจของสภา ผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา หรือคณะกรรมาธิการ แล้วแต่กรณี • (5) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการด าเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณา คดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ รวมทั้งการด […]

ขอบเขตการใช้บังคับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักร • มีผลใช้บังคับถึงกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่อยู่นอกราชอาณาจักร หากมีกิจกรรมดังนี้ (1) เสนอขายสินค้าหรือบริการแก่เจ้าของข้อมูลซึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไม่ว่าจะมีการ ช าระเงินหรือไม่ (2) การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร

ระยะเวลา พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ใช้บังคับเมื่อใด

มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 พฤษภาคม 2562) • ยกเว้นหมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหมวด 4 ส านักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีผลใช้บังคับทันที • เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • กรณีที่มีกฎหมายว่าด้วยการใดบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใดไว้โดยเฉพาะ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย การนั้น เว้นแต่ • บทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และ บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบทก าหนดโทษที่เกี่ยวข้อง • บทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องเรียน บทบัญญัติที่ให้อ านาจแก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ออกค าสั่งเพื่อคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับอ านาจหน้าที่ของ พนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งบทก าหนดโทษที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องมี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

•เหตุผล เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ส่วนบุคคลเป็นจ านวนมากจนสร้างความเดือดร้อนร าคาญหรือความเสียหายให้แก่ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีท าให้การเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ท าได้ โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม สมควร ก าหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้น เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการก ากับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Right of rectification) 

สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Right of rectification) เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย   แม้ว่าสิทธิในฐานะของการเป็นเจ้าของข้อมูลจะได้รับการคุ้มครอง แต่การใช้สิทธิก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้อื่นเช่นกัน และจำไว้เสมอว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเรานั้น หากถูกนำไปใช้ในทางที่ดี ก็จะเป็นผลดีกับเจ้าของข้อมูล แต่หากตกอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี ก็สามารถสร้างความเดือดร้อนและความเสียหายกับเจ้าของข้อมูล

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)

สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย เพราะมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลไปใช้ในทางกฎหมาย หรือการเรียกร้องสิทธิ ก็สามารถทำได้

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (Right to withdraw consent)

สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (Right to withdraw consent) กรณีเจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมในการใช้ข้อมูลไป ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจ ก็สามารถยกเลิกความยินยอมนั้นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยการยกเลิกจะต้องไม่ขัดต่อข้อจำกัดสิทธิในการถอนความยินยอมทางกฎหมาย หรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไปก่อนหน้านี้

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล  (Right to erasure / Right to be forgotten)

สิทธิในการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล  (Right to erasure / Right to be forgotten) หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบหรือทำลายข้อมูลนั้น หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้  โดยผู้ควบคุมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทั้งในทางเทคโนโลยีและค่าใช้จ่าย เพื่อให้เป็นไปตามคำขอนั้