แล้วมีเก็บข้อมูลใดของผู้บริโภคอยู่บ้างที่เข้าข่าย ?

ความหมายของข้อมูลส่วนบุคคลตามพรบ.นี้ คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม  ที่ถูกเก็บทั้งแบบ Online และ Offline ซึ่งหมายความกว้างมาก คีย์อยู่ที่การทำให้การระบุตัวตนได้ เช่น

ชื่อ นามสกุล

  • หมายเลขโทรศัพท์
  • ที่อยู่
  • อีเมล
  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่าย
  • ประวัติการทำงาน
  • อายุ ( หากเป็นเด็ก จะต้องระบุผู้ปกครองได้ และรับ consent จากผู้ปกครอง )
  • นอกจากนั้นก็ยังมี Personal Data Sensitive ข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนที่มีการควบคุมเข้มงวดขึ้นมาอีกขั้น
  • เชื้อชาติ
  • ชาติพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง ( ตย. เช่น social media monitoring tools ที่จับประเด็นการเมือง)
  • ความเชื่อทางศาสนา หรือ ปรัชญา ( ตย.เช่น บันทึกการลาบวช ของพนักงาน )
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ
  • ข้อมูลสุขภาพ ( ตย. เช่น ใบรับรองแพทย์ )
  • หรือ ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะประกาศกำหนด

 

 

Related Articles