บทลงโทษ

บทลงโทษของต่างประเทศ

  • GDPR ของทางสหภาพยุโรป ปรับสูงสุด 20 ล้านยูโร หรือ 4% ของรายได้รวมทั้งปีของธุรกิจ แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะมากกว่า
  • PDPA ของสิงคโปร์ ปรับสูงสุด 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
  • PDPA ของมาเลเซีย ปรับสูงสุด 500,000 ริงกิต

บทลงโทษจาก PDPA ของไทย

ถือว่ารุนแรงกว่า GDPR ของยุโรป คือ มีโทษจำคุกด้วยซึ่งกรรมการบริษัทคือผู้รับโทษนี้ ขณะที่ GDPR มีเฉพาะโทษทางเแพ่งอย่างเดียว

  • โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และ/หรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท
  • โทษทางแพ่ง จ่ายสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของสินไหมที่แท้จริง
  • โทษทางปกครองปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

GDPR ใช้เวลาเพียง 2 ปีก็สามารถแผลงฤทธิ์ใส่องค์กรใหญ่ๆไปได้หนักหน่วงทีเดียว และ PDPA ในประเทศที่มีใช้มานานแล้วก็มีการตื่นตัวเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของเทรนด์การเก็บข้อมูลของผู้บริโภคเพื่อนำมาวิเคราะห์  เห็นความเสี่ยงใกล้ๆตัวหรือยังคะ ? หากเราดูจากเคสตัวอย่าง เทียบค่าปรับจากเปอร์เซ็นต์ของยอดขายอาจดูไม่เยอะ เพียงแค่ 1-10% ถ้าเทียบจากรายได้มหาศาลของบริษัทเหล่านั้น กลับกันหากเป็นบริษัทเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 50 ล้านบาท แล้วโดนปรับ 5 ล้านบาท อาจเป็น 10% ที่แสนสาหัสมากเลยทีเดียว  สำหรับในบ้านเรานี้ คงไม่มีใครอยากเจิม PDPA เป็นคดีแรกหรอกใช่มั้ยคะ

Related Articles